วิจัยและพัฒนา


1. โครงการยกระดับศักยภาพการผลิต เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

    โครงการยกระดับศักยภาพการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ฯ มีวัตถุประสงค์ในการยกระดับศักยภาพในการผลิตของผู้ผลิตวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยให้สามารถทำการผลิตวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ เพื่อทดแทนการนำเข้าได้ โดยมีกิจกรรมหลัก คือ การปรับปรุงศักยภาพของสถานประกอบการให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการใช้งานหรือมาตรฐานทางการแพทย์ รวมทั้งมีคุณภาพเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

    เครื่องมือแพทย์เป้าหมายของโครงการฯ เพื่อนำไปวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่

  • แผ่นเฝือกอะลูมิเนียม (สำหรับดามนิ้ว)
  • เข็มฉีดยาแบบไม่ใช้เข็ม
  • ชุดอุปกรณ์จัดฟัน
  • อุปกรณ์เจลกันแผลกดทับสำหรับห้องผ่าตัด

    จากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ พัฒนากระบวนการผลิต ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ได้ศึกษาในกระบวนการผลิต จำนวน 5 กิจการ โดยผลสำเร็จของโครงการ มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นในด้านลดต้นทุน หรือ เพิ่มผลผลิต โดยมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 30.47% หรือคิดเป็นจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเป็นจำนวนเงิน 9,190,000 บาท

เอกสารของโครงการ

https://online.anyflip.com/exdtf/yhch/mobile/

https://online.anyflip.com/exdtf/xvnp/mobile/


2. โครงการ การศึกษามาตรการ CBAM ของสหภาพยุโรปและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทย (The study of EU's CBAM scheme and its effect on Thailand steel industry)

    เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากมาตรการ CBAM ต่ออุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในประเทศไทย โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเล็งเห็นความจำเป็นในการวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรมเหล็ก ภาพรวมและผลกระทบของมาตรการ CBAM และโครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาครั้งนี้จะถูกใช้เป็นรากฐานสำหรับนโยบาย แผนงานในภายภาคหน้า รวมถึงเป็นแนวทางพัฒนาในการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการ CBAM และเพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก้าวไปสู่คาร์บอนต่ำ

    การศึกษาของโครงการจะเน้นการศึกษาทบทวนและวิเคราะห์ภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของไทย และทบทวนและวิเคราะห์มาตรการ CBAM รวมถึงความสำคัญของมาตรการ สถานะการดำเนินการและผลกระทบของโครงการต่ออุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของไทย สำหรับใช้เป็นรากฐานสร้างนโยบาย แผนงานในภายภาคหน้า เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรการ CBAM และยังช่วยให้อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก้าวไปสู่คาร์บอนต่ำ


3. โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ปีงบประมาณ 2565 (SME ปัง ตังได้คืน)

    สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้เปิดตัวมาตรการ SME ปัง ตังได้คืน ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ (Business Development Service) ปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการสนับสนุนด้านการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่ผู้ประกอบการ SME จะสามารถเลือกรับการบริการ หรือรับการพัฒนากับผู้ให้บริการทางธุรกิจ (Business  Development Service Provider : BDSP) ซึ่ง สสว. จะอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาให้แก่ผู้ประกอบการ SME แบบร่วมจ่าย  (co-payment)  ในสัดส่วนร้อยละ 50 – 80 ตามขนาดของธุรกิจ แต่ไม่เกินรายละ 200,000 บาท  ซึ่งผู้ประกอบการ SME สามารถยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการบริการและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าและบริการ ด้านการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการตลาด และตลาดต่างประเทศ ฯลฯ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ https://bds.sme.go.th


1. โครงการยกระดับศักยภาพการผลิต เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

    โครงการยกระดับศักยภาพการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ฯ มีวัตถุประสงค์ในการยกระดับศักยภาพในการผลิตของผู้ผลิตวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยให้สามารถทำการผลิตวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ เพื่อทดแทนการนำเข้าได้ โดยมีกิจกรรมหลัก คือ การปรับปรุงศักยภาพของสถานประกอบการให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการใช้งานหรือมาตรฐานทางการแพทย์ รวมทั้งมีคุณภาพเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

    เครื่องมือแพทย์เป้าหมายของโครงการฯ เพื่อนำไปวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่

1) ขาเทียมสำหรับผู้พิการ

2) อุปกรณ์ยึดจับขณะผ่าตัด

3) อุปกรณ์ดามกระดูก

    จากการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ พัฒนากระบวนการผลิต ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ได้ศึกษาในกระบวนการผลิตจำนวน 6 กิจการ โดยผลสำเร็จของโครงการ มีผลิตภาพเพิ่มขึ้นในด้านลดต้นทุน หรือ เพิ่มผลผลิต โดยมีค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 47.11% หรือคิดเป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนเงิน 11,889,250 บาท

เอกสารของโครงการ https://online.anyflip.com/exdtf/nykr/mobile/


 

2. โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็กระยะที่ 2

    สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำมาตรฐานอาชีพสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก จำนวน 6 สาขาวิชาชีพ ได้แก่

  1. อาชีพช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตท่อตะเข็บตรง (ERW)
  2. อาชีพช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรผลิตท่อตะเข็บเกลียว (SSAW)
  3. อาชีพช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรชุบสังกะสีจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanize)
  4. อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ท่อตะเข็บตรง (ERW)
  5. อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ท่อตะเข็บเกลียว (SSAW)
  6. อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุบสังกะสีจุ่มร้อน (Hot Dipped Galvanize)

เพื่อยกระดับอาชีพและต่อยอดรายได้ของคนกลุ่มนี้ สามารถเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในอาชีพในเวที AEC ซึ่งการเข้าไปสร้างมาตรฐานอาชีพนั้น เพื่อให้กำลังคนมีคุณสมบัติเหมาะสมและตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงสามารถพัฒนาศักยภาพเพื่อไปทำงานในตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้มากกว่าหลายเท่าตัว และเพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน และเป็นไปตามนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ การปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เพื่อรองรับกับมาตรฐานสากลและมาตรฐานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพได้อย่างแท้จริง


3. โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) ปี 2564

    สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) ปี 2564 เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ SME ผ่านการจัดกิจกรรม 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถะผู้ประกอบการในเชิงลึก (ให้คำปรึกษาเชิงลึก)

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะด้าน (หลักสูตร 18 ชั่วโมง) จำนวน 6 หลักสูตร

1)  เครื่องมือคมตัด
2)  งานเชื่อม Spot (Spot Welding)
3)  Basic AutoCAD 2019
4)  โปรแกรมช่วยออกแบบในการสร้างอุปกรณ์ขนย้าย
5)  การเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ (Manual Metal Arc Welding)
6)  การเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ

 

2. กิจกรรมเสริมสร้างสมรรถะผู้ประกอบการในเชิงลึก (ให้คำปรึกษาเชิงลึก) ที่ปรึกษาได้ดำเนินการให้คำปรึกษา ณ สถานประกอบการ ไม่น้อยกว่ากิจการละ 6 Man-day โดยจากการดำเนินการให้คำปรึกษาเชิงลึก จำนวน 100 กิจการ สามารถประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ 329,445,45 บาทต่อปี และคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 62.84

   

โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) ปี 2563

สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) ปี 2563 เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ SME ผ่านการจัดกิจกรรม 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอบรมสัมมนา กิจกรรมตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ (Lab Test) และกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถะผู้ประกอบการในเชิงลึก (ให้คำปรึกษาเชิงลึก ณ สถานประกอบการ) โดยทำการอบรมสัมมนาในหลักสูตร "การต่อยอดมาตรฐาน ISO 9001:2015 สู่การพัฒนาเทคนิคการบริหารองค์กรเชิงลึกเพื่อการเติบโตแห่งอนาคต" ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเข้าไปรับชมคลิปวิดีโอด้านล่างเพื่อรับชมการบรรยายในหัวข้อดังกล่าวได้

- โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก
ภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปีงบประมาณ 2562
อ่านเพิ่มเติม

- จัดอบรมสัมมนา เรื่อง การบริหารจัดการองค์กรสู่มาตรฐานสากล 4.0 อุตสาหกรรมแปรรูปเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์ และ
อุตสาหกรรม เครื่องจักรกล เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2562 ณ ห้องกัญญาลักษณ์ A ชั้น 3 โรงแรมโฟร์วิงส์ สุขุมวิท 26 กรุงเทพฯ
โดยได้รับเกียรติจาก อ.พศิน แปลกสิริ เป็นผู้บรรยาย
อ่านเพิ่มเติม

- จัดอบรมสัมมนา เรื่อง การบริหารจัดการองค์กรสู่มาตรฐานสากล 4.0 อุตสาหกรรมหล่อโลหะ (Die casting) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4
เมษายน 2562 ณ ห้องประชุมสัมมนา ชั้น 1 นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร โดยได้รับเกียรติจาก อ.พศิน แปลกสิริ เป็นผู้
บรรยาย
อ่านเพิ่มเติม

- จัดอบรมสัมมนา เรื่อง ISO 3 ระบบ จบใน 1 วัน (ความรู้พื้นฐาน ISO 9001:2015, ISO 14001:2015 และ ISO 45001:2018) เมื่อวัน
เสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2562 ณ โรงพยาบาลมหาชัย (1) ถ.พระราม 2 จ.สมุทรสาครโดยได้รับเกียรติจาก อ.นิจปัณฑ์นีร์ ชาวบ้านเกาะ เป็น
ผู้บรรยาย
อ่านเพิ่มเติม

- จัดอบรมสัมมนา เรื่อง การจัดการและควบคุมกระบวนการผลิตด้วยระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 และแนวคิดแบบลีน เมื่อวันอังคาร
ที่ 11 มิถุนายน 2562 ห้องต้นสน ชั้น 2 อาคารชัย อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการโดยได้รับเกียรติจาก คุณวีระ แสงฮวด เป็นผู้บรรยาย
อ่านเพิ่มเติม

- จัดอบรมสัมมนา เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการบริหารงานตามระบบบริหารงาน คุณภาพสากล ISO 9001:2015 เมื่อ
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2562 ณ ห้องประชุม United Modular System Co., Ltd. อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยได้รับเกียรติจาก
อ.ภิชชญา สมัยกลาง เป็นผู้บรรยาย
อ่านเพิ่มเติม

- โครงการรีไซเคล
อ่านเพิ่มเติม

- โครงการคุณวุฒิ
อ่านเพิ่มเติม