ภารกิจ บทบาท และหน้าที่

ความเป็นมา

  สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เป็นสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม (สถาบันอิสระภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม) อยู่ภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้มีการจัดตั้งสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 การจัดตั้งสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เกิดจากความต้องการของรัฐบาลและเอกชนที่ต้องการให้มีหน่วยงานอิสระ ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบของความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของประเทศให้มีความเข้มแข็ง โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง คือ การจัดตั้งหน่วยงานอิสระที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหล็ก มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัว เพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของประเทศไทย ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน และขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิสัยทัศน์

เป็นแกนนำเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมโลหะการของประเทศไทย ตลอดจนอุตสาหกรรมและองค์กรที่เกี่ยวข้องให้มีศักยภาพในการแข่งขัน และสามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์และอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศได้อย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืน

พันธกิจ

1. เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมโลหะการ)
2. ประสานงานและร่วมมือทางด้านนโยบายกับหน่วยงานภาครัฐ
3. พัฒนาฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็ก โลหะ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
4. ส่งเสริมการประสานงาน และร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
5. ให้บริการเพื่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มแก่อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมโลหะ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
6. ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ดูแลรับผิดชอบมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมาย

1. เป็นองค์กรเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ไม่แสวงหากำไรที่มีความมั่นคง และมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมาย
2. ฐานข้อมูลอุตสาหกรรมครบวงจรโดยสามารถตอบสนองความต้องการของ ภาครัฐและเอกชน
3. สร้างระบบการจัดการและเครือข่ายการทดสอบและวิเคราะห์วัสดุ
4. สามารถสนับสนุนงานด้านการพัฒนานวัตกรรมให้แก่ผู้ประกอบการได้
5. เพิ่มบุคลากรที่มีความสามารถด้านการให้บริการภาคอุตสาหกรรมแบบครบวงจรได้
6. สนับสนุนการดำเนินงานของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก วิสาหกิจชุมชน โดยส่งเสริมด้านการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ
7. พัฒนารูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูปและการใช้งานเหล็กและโลหะ
8. ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการใช้บริการ

ยุทธศาสตร์ขององค์กร

1. เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมาย
กลยุทธ์ที่ 1: จัดทำฐานข้อมูลและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการประกอบกิจการและการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
กลยุทธ์ที่ 2: ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของผู้ผลิตไทย เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
กลยุทธ์ที่ 3: วิจัยและพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะคุณภาพสูง ตลอดจนเทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์
กลยุทธ์ที่ 4: พัฒนาบุคคลากรภาคอุตสาหกรรม เสริมสร้างศักยภาพให้กับแรงงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
กลยุทธ์ที่ 5: ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทยมีโครงสร้างที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง

2. สร้างปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 1: ผลักดันการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย
กลยุทธ์ที่ 2: สนับสนุนการยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม
กลยุทธ์ที่ 3: ร่วมแก้ไขปัญหาการทุ่มตลาดผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ รวมถึงการพิจารณากำหนดนโยบายการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงผู้ผลิตและผู้ใช้ภายในประเทศ
กลยุทธ์ที่ 4: สนับสนุนการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ และส่งเสริมการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผลิตภัณฑ์
กลยุทธ์ที่ 5: ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการดำเนินธุรกิจ
กลยุทธ์ที่ 6: สนับสนุนการดำเนินการประสานความร่วมมือ และสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคในด้านตลาด วัตถุดิบ การลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรม และอื่นๆ
กลยุทธ์ที่ 7: สนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศให้มีศักยภาพที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
กลยุทธ์ที่ 8: สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากร และจัดสรรวัตถุดิบให้เพียงพอสำหรับการผลิตในประเทศ

3. ส่งเสริมการประสานงานและร่วมมือกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม
กลยุทธ์ที่ 1: สนับสนุนการมีส่วนร่วมและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมที่ถูกต้องให้กับชุมชน
กลยุทธ์ที่ 2: ประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนการสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ และสนับสนุนการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ
กลยุทธ์ที่ 3: เป็นแกนนำในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ที่ 4: สร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ

4. สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการสร้างความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
กลยุทธ์ที่ 1: เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องเป็นไปตาม
ข้อกำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานให้กับผู้ใช้ปลายทาง
กลยุทธ์ที่ 2: เป็นแกนนำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และสร้างความเชื่อมโยงกับ อุตสาหกรรมต่อเนื่องและองค์กรอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ
กลยุทธ์ที่ 3: เป็นแกนนำในการสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออก และสร้างความเชื่อมโยงกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

5. ส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 1: ส่งเสริมให้สถานประกอบการดำเนินธุรกิจโดยไม่ส่งผลกระทบที่เป็นอันตราย ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 2: สนับสนุนการพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียว และส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 3: ประสานงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์พลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
กลยุทธ์ที่ 4: สนับสนุนและส่งเสริมการนำของเสียจากวัตถุดิบ จากกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่