ภาวะเศรษฐกิจโลก ไตรมาส 1/2567

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) สรุปภาวะเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป จากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจจีนขยายตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคการส่งออก แม้อุปสงค์ภายในประเทศยังชะลอตัวท่ามกลางปัญหาหนี ้สินในภาคอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน และการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก ประกอบกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในเศรษฐกิจหลักที่อาจเป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินนโยบายการเงิน และการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 สถานการณ์ทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจาก (1) ผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา ความยืดเยื้อของการโจมตีเรือสินค้าในทะเลแดง และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน (2) การขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปคพลัส และ (3) ปริมาณน้ำมันดิบสำรองทางการค้าของสหรัฐอเมริกา ลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี แนวโน้มราคาน้ำมันในปี 2567 ยังมีความผันผวนและไม่แน่นอน โดยสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) คาดว่า ความต้องการน้ำมันจะสูงกว่าการผลิตในช่วงปลายปี 2566 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2567 เป็นแรงกดดันให้ราคาน้ำมันในปี 2567 อยู่ในระดับสูง

เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตต่ำใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากปัจจัยทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ความเสี่ยงต่อภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป ภาวะภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) สงครามรัสเซีย-ยูเครนและความตึงเครียดในตะวันออกกลาง การแบ่งขั ้วทางเศรษฐกิจซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา และจีน ซึ ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก นอกจากนี ้ การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงในหลายประเทศในช่วงปี 2566-2567 จะกระทบต้นทุนและภาระหนี้ของภาครัฐและเอกชน ยังส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลงจากปี 2566

แหล่งที่มา.Mreport